นายแฟคลี สุไลมาน กงสุลอินโดนีเซียประจำจังหวัดสงขลาเข้าเยี่ยมคารวะอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

นายแฟคลี สุไลมาน กงสุลอินโดนีเซียประจำจังหวัดสงขลา (Mr. Fachry Sulaiman, Consul-General of the Republic of Indonesia) พร้อมคณะ ประกอบด้วย Mr. Adul Meatam, Staff for Information, Social and Cultural Affairs และ Mr. Ziko, Secretary to Consul-General เข้าเยี่ยมคารวะ ศาสตราจารย์ ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมหารือความร่วมมือทางวิชาการ และเยี่ยมเยือนอาจารย์และนักศึกษาชาวอินโดนีเซียที่สอนและศึกษาที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีคณะผู้บริหาร ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. สุรินทร์ ไหมศรีกรด รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและพัฒนาการเรียนการสอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภัทร์นรินทร์ ศุภกร รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์กิจการนานาชาติ รองศาสตราจารย์ ดร. เดวิด ฮาร์ดิง รักษาการแทนรองผู้อำนวยการศูนย์กิจการนานาชาติ รองศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา เจริญสุธาสินี คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร. จิตบรรจง ตั้งปอง คณบดีสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พงศธร เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา คณบดีสำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป อาจารย์นฤมล กล้าทุกวัน อาจารย์อับดุลรอยะ ปาแนมาแล อาจารย์เพ็ญศรี พานิช สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ให้การต้อนรับที่ห้องรับรองสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา

โอกาสนี้  อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้กล่าวถึงความสำเร็จของมหาวิทยาลัยในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านกายภาพและคุณภาพ ประกอบด้วยความสำเร็จในการยกระดับคุณภาพด้านการเรียนการสอนโดยการอบรมอาจารย์ของมหาวิทยาลัยด้วยระบบ UKPSF ( United Kingdom Professional Standard Framework ของ The Higher Education Academy (HEA) หรือ AdvanceHE สหราชอาณาจักร ซึ่งจนถึงขณะนี้คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับการรับรองมากถึง 422 คน หรือ 89.80 % เป็นจำนวนสูงที่สุดในประเทศไทย การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Re-inventing University) เพื่อเข้าอยู่ในกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยระดับแนวหน้าของโลก (Global and frontier Research) โดยผลการดำเนินงานในปี 2564 (2021) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับการจัดอันดับโดยสถาบัน Nature INDEX ในด้าน Physical Sciences อันดับ 3 ด้าน Chemistry อันดับ 8 และโดยรวมทุกด้าน (Overall) ที่อันดับ 4 ของประเทศ จากการจัดอันดับโดย SCIMAGO Institutions Rankings มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับการจัดอันดับในภาพรวมทุกด้าน (Overall Rank) อยู่ที่อันดับ 11 ของประเทศ โดยในด้าน Innovation Rank อยู่ที่อันดับ 4 ด้าน Research Rank อยู่ที่อันดับ 14 ด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) อยู่ที่อันดับ 1 ของประเทศ อันดับที่ 119 ของเอเชีย อันดับที่ 548 ของโลก และล่าสุดในปีนี้ มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับโดยสถาบัน Time Higher Education (THE) Impact Rankings เป็นครั้งแรกที่ระดับ 601-800 โดย SDG2,6 และ 14 อยู่ที่อันดับ 300 ของโลก ปัจจุบันมหาวิทยาลัยยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีนักศึกษาทั้งหมด 9,000 คน และคาดว่าในปี 2565 จะสามารถรับนักศึกษาได้ถึงจำนวน 12,000 คน

ทางด้านความร่วมมือกับประเทศอินโดนีเซียนั้น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความร่วมมือกับ 7 มหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซีย ประกอบด้วย State University of Malang, State University of Surabaya, University of Trunojoyo Madura, East Kutai Agricultural Colleage (STIPER), Mulawarman University, Tadulako University, Universitas Negeri Semarang และอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อลงนาม MOU กับ Universitas Negeri Yogyakarta มีคณาจารย์ชาวอินโดนีเซียจำนวน 7 คน สอนที่สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป และมีนักศึกษาชาวอินโดนีเซีย จำนวน 1 คน กำลังศึกษาที่สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ และในวันนี้ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ส่งมอบ MOA ระหว่าง สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และ Faculty of Mathematics and Natural Sciences, Universitas Negeri Semarang หรือ UNNES กับ กงสุลอินโดนีเซียประจำจังหวัดสงขลา   สำหรับสาระสำคัญในข้อตกลงฉบับนี้ จะเน้นการแลกเปลี่ยนอาจารย์  นักศึกษา (Academic staff and student exchanges) การร่วมมือทางด้านวิจัยสำหรับคณาจารย์ (Joint research program for academic staff members) การเผยแพร่ผลงานวิชาการ จัดสัมมนา และเวิร์คชอปต่างๆ (Joint publication, seminars and workshop) และ กิจกรรมทางวิชาการอื่นๆ เช่น การฝึกอบรม (Academic activities: short course and training)  และเพื่อให้การลงนามความร่วมมือมีประสิทธิภาพโดยแท้จริง รองศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา เจริญสุทธาสินี คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ เปิดเผยว่า  ขณะนี้สำนักวิชาได้  จัดเตรียม mobility program ในการแลกเปลี่ยนอาจารย์ โดย กำหนดให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. จริยา  สากยโรจน์  ทำหน้าสอนรายวิชา Environmental Microbiology ที่ Department of Integrated Sciences, Faculty of Mathematics and Natural Sciences, Universitas Negeri Semarang, Indonesia ในเทอมคี่ (odd semester) 2021/2022 on course และ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พักตร์พิมล  อึ่งเจริญวิวัฒน์ จะทำหน้าที่สอนที่สอนในรายวิชา Microbiology โดยจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์                                                                                                              

จากนั้นอธิการบดี พร้อมคณะผู้บริหารได้นำ นายแฟคลี สุไลมาน เข้าเยี่ยมชมโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และในช่วงบ่าย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รุ่งรวี  จิตภักดี ผู้อำนวยการอุทยานพฤษศาสตร์ นำคณะอาคันตุกะชมความสวยงามของพืชพันธ์สมุนไพรหายากนานาชนิดที่อุทยานพฤกษศาสตร์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.