ศูนย์กิจการนานาชาติจัดประชุมสรุปการจัดการเรียนการสอน International Credit Transfer ร่วมกับ International Office, Tadulako University.

International Collaboration

ตามที่ศูนย์กิจการนานาชาติได้รับนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก Tadulako University หลักสูตร English Education Study Program จำนวน 10 คนเพื่อร่วมศึกษากับนักศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ในภาคการศึกษาที่ 2/2564 นั้น ซึ่งเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2564 ทางสำนักวิชาศิลปศาสตร์ได้จัดการเรียนการสอนและจัดสอบปลายภาคการศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2/2564 เสร็จสิ้นลงแล้วและอยู่ระหว่างการดำเนินการประเมินผลการวัดความรู้นักศึกษา และรายงานผลการจัดการเรียนการสอนให้ทั้งสองฝ่ายทราบ

โดยเมื่อวันพุธที่ 29 ธันวาคม 2564 ศูนย์กิจการนานาชาติจัดประชุมสรุปผลการศึกษาของนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก Tadulako University ซึ่งในการประชุมครั้งนี้มีท่านรองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและพัฒนาการเรียนการสอน รศ.ดร. สุรินทร์ ไหมศรีกรด เป็นประธาน ร่วมด้วย ผศ.ดร.ภัทร์นรินทร์ ศุภกร รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์กิจการนานาชาติ อาจารย์ ดร.สุชิตา มานะจิตต์ อาจารย์ผู้สอนรายวิชา GEI61-161 Innovation and Entrepreneurship, Mr. Simon Moxon อาจารย์ผู้สอนรายวิชา ENG63-261 English for Organizational Communication และนางสาวนิธิวรณ พรมแก้ว เจ้าหน้าที่ศูนย์กิจการนานาชาติเข้าร่วมการประชุม และผู้แทนจาก Tadulako University ประกอบด้วย Prof. Marsetyo, Head of International Office Dr. Elisa Sesa, Secretary of International Office Miss Zarkiani Hasyim Inbound coordinator และ Dr. Mukrim Tamrin, Outbound coordinator

ผลการประเมินนักศึกษาจาก Tadulako University จากอาจารย์ผู้สอนทั้งสองท่านเป็นไปในแนวทางเดียวกันคือนักศึกษาจาก Tadulako University มีความกระตือรือร้นในการเรียน ตั้งใจทำงาน และรับผิดชอบในการเรียน นักศึกษาได้มีโอกาสทำงานร่วมกันกับนักศึกษาชาวไทยและมีการผนวกความคิดด้านวัฒนธรรมและความรู้ของทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกันในการสร้างโปรเจค ซึ่งถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้นักศึกษาทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนทัศนคติและวิสัยทัศน์ ช่วยเปิดโลกของการศึกษาให้กว้างขึ้น ซึ่งผลจากการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาจาก Tadulako University ต่อการจัดการเรียนการสอนยังระบุว่า นักศึกษาชอบที่ได้เรียนร่วมกับนักศึกษาชาวไทย ชอบบรรยากาศการเรียนการสอน ซึ่งเน้นให้นักศึกษาใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการเปิดรับความคิดเห็นของทั้งอาจารย์ผู้สอนและเพื่อนนักศึกษา และอยากจะมีโอกาสมาเยือนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ซักครั้ง

จากการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ซึ่งในอนาคต รศ.ดร. สุรินทร์ ไหมศรีกรด และ Professor Marsetyo ยังได้พูดคุยถึงการขยายความร่วมมือไปยังหลักสูตรอื่นๆ และการขยายความร่วมมือในด้านการวิจัย และการจัดกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เพื่อสานต่อการทำความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายอย่างต่อเนื่อง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.